1. ผลการเรียนรู้
อธิบายความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์กราฟิกได้
2. สาระสำคัญ/ความคิดรวบยอด
องค์ประกอบของงานกราฟิกคือสิ่งต่างๆ ที่ถูกนำมาวางร้อยเรียงกันจนเกิดเป็นภาพ ที่แสดงอารมณ์ใดอารมณ์หนึ่งออกมา ประกอบไปด้วย
เส้น (Lines)
สี (Color)
รูปร่างต่างๆ (Shape)
พื้นที่ในงาน (Space)
พื้นผิว (texture)
ตัวอักษร (Typography)
ขนาดต่างๆ (Scale)
องค์ประกอบหลักและรอง (Dominance and Emphasis)
สมดุล (ฺBalance)
ต้องสอดคล้องกัน (ฺHarmony)
3. จุดประสงค์การเรียนรู้
อธิบายเกี่ยวกับองค์ประกอบพื้นฐานของภาพกราฟิกได้ (K)
ออกแบบงานกราฟิกโดยใช้องค์ประกอบพื้นฐานของงานกราฟิกได้ (P)
ทำงานเป็นทีม ยืดหยุ่น ปรับตัวให้ทำงานในสถานการณ์หรือทีมที่แตกต่างกันได้ เพื่อเป้าหมายเดียวกัน (A)
องค์ประกอบของงานกราฟิกคือสิ่งต่างๆ ที่ถูกนำมาวางร้อยเรียงกันจนเกิดเป็นภาพ ที่แสดงอารมณ์ใดอารมณ์หนึ่งออกมา ประกอบไปด้วย
เส้น (Lines)
สี (Color)
รูปร่างต่างๆ (Shape)
พื้นที่ในงาน (Space)
พื้นผิว (texture)
ตัวอักษร (Typography)
ขนาดต่างๆ (Scale)
องค์ประกอบหลักและรอง (Dominance and Emphasis)
สมดุล (ฺBalance)
ต้องสอดคล้องกัน (ฺHarmony)
หลักการจัดองค์ประกอบศิลป์ (Composition) ซึ่งมีหลักที่ควรคำนึง อยู่ 5 ประการ คือ
สัดส่วน (Proportion)
สัดส่วน (Proportion) หมายถึง ความพอเหมาะพอดี ไม่มากไม่น้อย ขององค์ประกอบทั้งหลาย
ที่นำมาจัดรวมกัน ความเหมาะสมของสัดส่วนอาจ พิจารณาจากคุณลักษณะดังต่อไปนี้
สัดส่วนที่เป็นมาตรฐาน
สัดส่วนจากความรู้สึก
ความสมดุล (Balance)
ความสมดุล หรือ ดุลยภาพ (Balance) หมายถึง น้ำหนักที่เท่ากันขององค์ประกอบ ไม่เอนเอียงไปข้างใดข้างหนึ่ง ความพอเหมาะพอดีของ ส่วนต่าง ๆ ดุลยภาพในงานศิลปะ มี 2 ลักษณะ คือ
ดุลยภาพแบบสมมาตร (Symmetry Balance)
ดุลยภาพแบบอสมมาตร (Asymmetry Balance)
จังหวะลีลา (Rhythm)
จังหวะลีลา (Rhythm) หมายถึง การเคลื่อนไหวที่เกิดจาการซ้ำกันขององค์ประกอบ เป็นการซ้ำที่เป็นระเบียบ จากระเบียบธรรมดาที่มีช่วงห่างเท่าๆ กัน มาเป็นระเบียบที่สูงขึ้น ซับซ้อนขึ้นจนถึงขั้นเกิดเป็นรูปลักษณะของศิลปะ โดยเกิดจาก การซ้ำของหน่วย หรือการสลับกันของหน่วยกับช่องไฟหรือเกิดจาก การเลื่อนไหลต่อเนื่องกันของเส้น สี รูปทรง หรือ น้ำหนัก
การเน้น (Emphasis)
การเน้น (Emphasis) หมายถึง การกระทำให้เด่นเป็นพิเศษกว่าธรรมดา ส่วนใดส่วนหนึ่ง หรือจุดใดจุดหนึ่ง ที่มีความสำคัญกว่าส่วนอื่น ๆ งานที่ไม่มีจุดสนใจ หรือประธาน จะทำให้ดูน่าเบื่อ เหมือนกับลวดลายที่ถูกจัดวางซ้ำกันโดยปราศจากความหมาย หรือเรื่องราวที่น่าสนใจ ดังนั้น ส่วนนั้นจึงต้องถูกเน้น ให้เห็นเด่นชัดขึ้นมา เป็นพิเศษกว่าส่วนอื่น ๆ ซึ่งจะทำให้ผลงานมีความงาม สมบูรณ์ ลงตัว และน่าสนใจมากขึ้น การเน้นจุดสนใจสามารถทำได้ 3 วิธี คือ
การเน้นด้วยการใช้องค์ประกอบที่ตัดกัน (Emphasis by Contrast)
การเน้นด้วยการด้วยการอยู่โดดเดี่ยว (Emphasis by Isolation)
การเน้นด้วยการจัดวางตำแหน่ง (Emphasis by Placement)
เอกภาพ (Unity)
เอกภาพ (Unity) หมายถึง ความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันขององค์ประกอบศิลป์ทั้งด้านรูปลักษณะและด้านเนื้อหาเรื่องราว เป็นการประสานหรือจัดระเบียบของส่วนต่าง ๆ
ให้เกิดความเป็นหนึ่งเดียว เพื่อผลรวมอันไม่อาจแบ่งแยกส่วนใดส่วนหนึ่งออกไป
โดยการเชื่อมโยงส่วนต่าง ๆ ให้สัมพันธ์กัน เอกภาพของงานศิลปะ มีอยู่ 2 ประการ คือ
เอกภาพของการแสดงออก
เอกภาพของรูปทรง
ให้นักเรียน ออกแบบโปสเตอร์
เชิญชวนร่วมงานกิจกรรมวันวิทยาศาสตร์